การบ้าน และ งานต่าง ๆ

ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
งานเดี่ยว
1. อธิบายความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)"
2. ออกแบบหน้า Blog ของตัวเอง โดยใช้ข้อมูล ภาพ และ Link ที่เกี่ยวข้องกับรายงานกลุ่ม

3. กรุณาตอบคำถามข้างล่าง *****
งานกลุ่ม
1. หาข้อมูลพื้นฐานของประเทศที่สนใจ

ประจำวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553
* แก้ไข Blog ให้เป็นธุรกิจ (คิดถึงตลาดเป้าหมาย) และใส่ข้อมูลตามสั่ง
** ยังมองไม่เห็น link ของหลายคน หลังวันศุกร์ที่ 12 ถือว่าส่งงานล่าช้า ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553
***ยังมองไม่เห็น link ของหลายคน
งานเดี่ยว...1.หาบทความที่เกี่ยวกับสินค้าส่งออก ยาว 1 หน้า + Link
2.วิเคราะห์ SWOT ของสินค้านั้น ถ้าจะส่งออกไปยังประเทศของกลุ่ม
*** ให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าไปดูอย่างน้อย 15 คน

ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553
1.แก้งานทุกงานที่ผ่านมา ใครไม่แก้ไม่ให้คะแนนแล้ว
2.เตรียมหาข้อมูลสินค้าและประเทศ เพื่อมาใช้ในรายงาน

ประจำวันที่ 10 มกราคม 2554
อ่าน 2 บทความใหม่ และตอบคำถามไว้ในบล็อกของตัวเอง

20 มกราคม 2554

ทำงานเพิ่ม

ให้จิรพงศ์ (3019) อ่านบทความภาษาไทยที่อยู่บนบล็อกทั้งหมด
และตอบคำถามส่งที่ห้องภายใน 2 อาทิตย์ (ฝากเพื่อนมาก็ได้)

6 มกราคม 2554

จงเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิเล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2553 22:16 น.
ร้านอาหารฟูจิสยามประเดิมธุรกิจ ลุยธุรกิจโรงแรม ประเดิมทุ่ม 400 ล้าน ผุดธนาบูติกโฮเต็ลที่สมุย ยันร้านอาหารยังเป็นเรือธง ปีนี้ลุยเปิดฟูจิและทุก แบรนด์รวม 12 สาขา เล็งดันแบรนด์ฟูจิลุยต่างประเทศ งัดกลยุทธ์บัตรหวังเพิ่มฐานสมาชิก
นายไดซากุ ทานากา กรรมการผู้จัดการ เครือร้านอาหารฟูจิ เปิดเผยว่า กลุ่มร้านอาหารฟูจิได้ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจโรงแรม เนื่องจากมองว่าเป็นธุรกิจด้านการบริการเหมือนกับร้านอาหาร รวมทั้งมองเห็นโอกาส และศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลต่อความต้องการห้องพักโรงแรมยังมีสูงเช่นกัน
โดยได้ลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท ก่อสร้างโรงแรม ธนาบูติกโฮเต็ล ที่หาดเชวง เกาะสมุย ขนาด 85 ห้อง สูง 4 ชั้น บริหารเองไม่ได้จ้างเชน คาดว่า จะเปิดปลายปีนี้ ซึ่งจะมีร้านอาหารฝรั่งเศสของฟูจิเอง และร้านฟูจิเปิดบริการด้วย โรงแรมนี้จับกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวระดับบีบวก นอกจากนั้นยังอยู่ระหว่างการหาทำเลดีๆ ที่ภูเก็ตเพื่อสร้างโรงแรมอีกเช่นกัน
นายไดซากุ กล่าวว่า ทางกลุ่มฟูจิมีโรงแรมเปิดบริการอยู่แล้วที่ญี่ปุ่น ชื่อว่า ฮิบิยาซิตี้โฮเต็ล ซึ่งเป็นการเทกโอเวอร์โรงแรมเดิมมาจากเจ้าของเดิม จึงถือว่ากลุ่มฟูจิมีประสบการณ์ด้านโรงแรมพอสมควร อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักของกลุ่มฟูจิยังคงเป็นธุรกิจอาหาร ซึ่งปัจจุบันมี 3 แบรนด์ที่เปิดในไทย คือ ร้านฟูจิ ปัจจุบันมี 62 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 70% และต่างจังหวัด 30% และร้านโคโคอิจิบังยะ มี 8 สาขา ร้านซูชิซึกิจิ 1 สาขา และยังมีร้านอาหารไทยที่ญี่ปุ่นชื่อว่า บางกอกคิทเช่น 8 สาขา และร้านอาหารฝรั่งเศสอีกแบรนด์
แผนลงทุนปีนี้ เปิดร้านฟูจิอีก 8 สาขา กระจายทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด งบลงทุนเฉลี่ย 20 ล้านบาทต่อสาขา และเปิดร้านโคโคอิจิบังยะอีก 4 สาขา ลงทุนเฉลี่ย 12 ล้านบาทต่อสาขา ทั้งนี้ ร้านฟูจิได้เปิดคอนเซ็ปต์ใหม่ที่เป็นแบบโอเพ่นสเปซ (Open Space) แบบเปิดโล่ง เช่น สาขาพาราไดซ์พาร์ค พื้นที่ 300 ตารางเมตร และที่หัวหิน เป็นต้น
ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นแข่งขันกันรุนแรง มีหลายแบรนด์เปิดบริการมากมาย เราต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องทั้งเมนูอาหาร การตกแต่ง การบริการ ซึ่งจะสร้างยอดขายเพิ่มขึ้น และทำให้ตลาดรวมอาหารญี่ปุ่นเติบดตขึ้นด้วยจากปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 7,000 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนทั้งลงทุนเอง และขายแฟรนไชส์ร้านอารฟูจิในต่างประเทศ เริ่มต้นมองที่เอเชียก่อน มีผู้ติดต่อมากมาย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ฮ่องกง คาดว่าภายใน 2-3 ปีน่าจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างได้
ปีนี้บริษัทใช้งบการตลาดรวม 70 ล้านบาท ทำการตลาดร้านอาหารฟูจิ โดยชูกลยุทธ์ทำการตลาดในกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานและครอบครัว ใช้ทั้งสื่อแมสมีเดีย ออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ปัจจุบันมีฐานสมาชิกมากกว่า 2 แสนราย และแอกทีฟประมาณ 70% มีอัตราการเติบโตของสมาชิกว่า 18%
ล่าสุด ได้จัดแคมเปญ ฟูจิ สมาร์ท ไลฟ์ พรีเวิลเลจเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบัตรและสิทธิประโยชน์ต่างให้กับสมาชิก เช่น ส่วนลดพิเศษ ของสมนาคุณ การทำเวิร์กชอปโดย ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งกลุ่มร้านค้าและความงาม การศึกษา การท่องเที่ยว การพักผ่อน รวมกว่า 30 ราย ที่มีสาขามากกว่าพันแห่งทั่วประเทศ ซึ่งหากสมาชิกสะสมครบยอดใช้จ่ายครบ 3,000 บาท จะได้รับส่วนลด 10%
ส่วนปีหน้ามีแผนที่จะจัดทำระบบสะสมแต้มแลกของรางวัลและเอ็กซ์คลูซีฟอีเวนต์ด้วย ซึ่งงบประมาณลงทุนด้านบัตรสมาชิกของเฟสแรกและเฟสสองปีนี้อยู่ที่ 10 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยเพิ่มยอดสมาชิกอีก 25% นายไดซากุ คาดว่า ปีนี้จะมีรายได้รวมเติบโต 5% จากปีที่แล้วที่ทำได้ 3,000 กว่าล้านบาท

เอ็มเคฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
โดย นิตยสาร BrandAge 10 กันยายน 2552
เอ็มเค ฉลอง 300 สาขา ตอกย้ำเบอร์ 1 ธุรกิจอาหารด้วยความสำเร็จของกลยุทธ์บริหาร ที่เน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจร ตั้งเป้าเติบโตประมาณ 5% จากปี 2551พร้อมตอบแทนลูกค้าด้วยแคมเปญ อิ่มท้อง ลุ้นอิ่มทองแจกรางวัลรวมมูลค่ากว่า 8 ล้านบาท และเปิดตัวหนังโฆษณาชุดใหม่ ย้ำคอนเซปต์ เอ็มเค อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี
คุณสมชาย หาญจิตต์เกษม รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจสาขา บริษัท เอ็มเค เรสโตรองค์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันเอ็มเค มีสาขาทั้งสิ้นรวม 300 สาขา โดยมีสาขาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชลบุรี เป็นสาขาที่ 300 โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาเอ็มเคให้ความสำคัญกับการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ดังปณิธาณที่ว่า เอ็มเค อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี
การบริหารจัดการสาขาจำนวน 300 สาขา ทำให้เอ็มเคต้องวางแผนการดำเนินงานต่างๆ อย่างละเอียดและรอบคอบ และนำไปสู่การสร้างมาตรฐานเฉพาะสำหรับเอ็มเค เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งคือการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness), ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)”
ปัจจุบัน นอกจากจะประสบความสำเร็จกับตลาดในประเทศแล้ว เอ็มเคฯ ยังได้ขยายธุรกิจในต่างประเทศ ด้วยการบริหารระบบแฟรนไชส์ร้านเอ็มเคสุกี้  โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 16 สาขา และในอนาคตยังได้เตรียมขยายสาขาไปยังต่างประเทศอื่นอีก โดยในปี 2553 บริษัทฯ วางแผนจะเปิดสาขาใหม่ร้านเอ็มเค จำนวน 20 สาขา
เอ็มเคยังคงรักษาการเติบโต โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการขยายสาขาใหม่ๆ ต่อเนื่องด้วยแผนการสื่อสารการตลาดเชิงรุก เพื่อย้ำภาพลักษณ์ร้านอาหารของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ทั้งการทำกิจกรรมการตลาด และสร้างแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเทศกาล เช่น ช่วงปิดภาคการศึกษา หรือช่วงเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น

Starbucks unveils new company logo

Chain cuts words out of logo as it looks beyond coffee
January 5, 2011 | By Lisa Jennings http://www.nrn.com/

The evolution of Starbucks' logo
Starbucks unveiled a wordless symbol as its new company logo Wednesday, marking its 40th anniversary and a new era of growth that will include products that may not involve coffee.
The new logo features a close-up of the company’s iconic twin-tailed mermaid, or siren, which has been a part of the logo since the first store opened in Seattle in 1971. Gone, however, are the words “Starbucks Coffee.”
To be rolled out in the spring — Starbucks’ anniversary is in March — the new logo also aims to represent the 16,858-unit coffeehouse chain’s “next chapter,” which it said would include innovation and new distribution channels.
Company officials have said plans include expanding its global consumer packaged goods business; building other brands, such as the secondary Seattle’s Best Coffee platform; as well as tinkering with the existing coffeehouse format by adding beer, wine and additional food offerings to build later daypart sales.
Howard Schultz, Starbucks chairman and chief executive, said in a video statement about the logo change that the new wordless symbol “embraces and respects our heritage and, at the same time, evolves us to a point where we feel it’s more suitable for the future.”
Schultz said that the new logo allowed the siren to “come out of the circle in a way that I think gives us the freedom and flexibility to think beyond coffee.”
“But,” he added, “make no mistake, we have been, we will continue to be and we always will be the world’s leading purveyor of the highest-quality coffee.”
Company officials explained that the siren was inspired by a 16th century Norse wood-cut of the twin-tailed mermaid, evoking a “seductive mystery mixed with a nautical theme.”
This is the fourth logo change for Starbucks. The original logo in 1971 was brown and featured the words “coffee, tea and spices,” along with a more anatomically realistic representation of the mythical mermaid.
In 1987, when Starbucks began offering espresso-based beverages, the logo turned green and the words “tea” and “spices” were dropped. The mermaid was also redesigned with a more modest presentation.
When the company went public in 1992, the logo changed again, taking a closer look at the siren.
The new logo brings the siren even more into the frame, removing the outer circle and giving her a slightly more cheerful expression.
For its fourth quarter and year ended Oct. 3, Seattle-based Starbucks reported an 86-percent increase in net income for the quarter, saying its earnings per share and consolidated margins were the highest in company history.
Earnings for the quarter were $278.9 million, or 37 cents per share, compared with $150 million, or 20 cents per share, in the same quarter a year ago. Net revenue for the quarter, including an extra week, was up 17.2 percent to $2.8 billion. Same-store sales increased 8 percent.

การเปลี่ยนแปลงโลโก้จะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร